วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS05-22/07/2552

สรุปบทเรียน Linked ListและStack

Linked List (ต่อ)
กระบวนงานและฟังก์ชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน
1. กระบวนงาน Create Listหน้าที่ สร้างลิสต์ว่างผลลัพธ์ ลิสต์ว่าง
2. กระบวนงาน Insert Nodeหน้าที่เพิ่มข้อมูลลงไปในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการข้อมูลนำเข้า ลิสต์ ข้อมูล และตำแหน่งผลลัพธ์ ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. กระบวนงาน Delete Nodeหน้าที่ ลบสมาชิกในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการข้อมูลนำเข้า ข้อมูลและตำแหน่งผลลัพธ์ ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
4. กระบวนงาน Search listหน้าที่ ค้นหาข้อมูลในลิสต์ที่ต้องการข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์ ค่าจริงถ้าพบข้อมูล ค่าเท็จถ้าไม่พบข้อมูล
5. กระบวนงาน Traverseหน้าที่ ท่องไปในลิสต์เพื่อเข้าถึงและประมวลผลข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์ ขึ้นกับการประมวลผล เช่นเปลี่ยนแปลงค่าใน node , รวมฟิลด์ในลิสต์ ,คำนวณค่าเฉลี่ยของฟิลด์ เป็นต้น
6. กระบวนงาน Retrieve Nodeหน้าที่ หาตำแหน่งข้อมูลจากลิสต์ข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์ ตำแหน่งข้อมูลที่อยู่ในลิสต์
7. ฟังก์ชั่น EmptyListหน้าที่ ทดสอบว่าลิสต์ว่างข้อมูลนำเข้า ลิสต์ผลลัพธ์ เป็นจริง ถ้าลิสต์ว่างเป็นเท็จ ถ้าลิสต์ไม่ว่าง
8. ฟังก์ชั่น FullListหน้าที่ ทดสอบว่าลิสต์เต็มหรือไม่ข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์ เป็นจริง ถ้าหน่วยความจำเต็มเป็นเท็จ ถ้าสามารถมีโหนดอื่น
9. ฟังก์ชั่น list countหน้าที่ นับจำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์ข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์ จำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์
10. กระบวนงาน destroy listหน้าที่ ทำลายลิสต์ข้อมูลนำเข้า ลิสต์ผลลัพธ์ ไม่มีลิสต์

Linked List แบบซับซ้อน
1. Circular Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่สมาชิกตัวสุดท้ายมีตัวชี้ (list) ชี้ไปที่สมาชิกตัวแรกของลิงค์ลิสต์ จะมีการทำงานไปในทิศทางเดียวเท่านั้นคือเป็นแบบวงกลม
2. Double Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่มีทิศทางการทำงานแบบ 2 ทิศทาง ในลิงค์ลิสต์แบบ 2ทิศทาง ส่วนข้อมูลจะมีตัวชี้ไปที่ข้อมูลก่อนหน้า (backward pointer) และตัวชี้ข้อมูลถัดไป(forward pointer)

สแตค (Stack)
สแตคเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีลักษณะแบบลำดับ (sequential) คือการกระทำกับข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างเดียวกันที่ส่วนปลายสุดของสแตค การกระทำกับข้อมูลของสแตคประกอบไปด้วยการนำเข้าข้อมูลเข้า (PUSH) ที่ส่วนบนสุดของสแตค และการนำข้อมูลออก (POP) ที่ส่วนบนสุดของสแตคเช่นกัน ในการจะ Push ข้อมูลเข้าก็ต้องตรวจสอบด้วยว่าข้อมูลในสแตคเต็มหรือไม่ หากสแตคเต็มก็จะไม่สามารถ Push หรือนำข้อมูลเข้าได้ เช่นเดียวกับการ Pop ข้อมูลออกก็ต้องตรวจสอบด้วยว่ามีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือไม่ หากไม่มีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือสแตคว่าง (empty stack) ก็ไม่สามารถ pop ได้การนำข้อมูลเข้า-ออก จากสแตค (push , pop) จะมีลักษณะแบบเข้าหลัง ออกก่อน (LIFO : Last In , First Out) คือ ข้อมูลที่เข้าไปในสแตคลำดับหลังสุด จะถูกนำข้อมูลออกจากสแตคเป็นลำดับแรก

ตัวอย่าง การทำงานแบบโครงสร้างข้อมูลแบบสแตกที่สามารถเห็นได้ในชีวิตประจำวันทั่วไป
ได้แก่ การวางถาดซ้อนกันต้องวางถาดลงบนที่เก็บถาดจากล่างสุดที่ละถาด เมื่อมีการวางถาดช้อนกันแล้วเมื่อเราจะหยิบถาดไปใช้ เราต้องหยิบถาดบนสุด ซึ่งเป็นถาดที่ถูกวางเก็บเป็นอันดับสุดท้ายออกได้เป็นถาดแรก และสามารถหยิบออกที่ละถาดจากบนสุดเสมอ ส่วนถาดที่ถูกวางเก็บเป็นถาดอันแรก จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อนำถาดที่วางทับมันอยู่ออกไปใช้เสียก่อน และจะหยิบออกไปใช้เป็นถาดอันสุดท้ายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น